บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กรกฎาคม, 2018

ไม่ใช่แค่วาฬที่ตายเพราะขยะทะเล

รูปภาพ
ไม่ใช่แค่วาฬที่ตายเพราะขยะทะเล เต่าตนุตัวน้อยตัวนี้เข้ามาเกยตื้นบริเวณท่าเรือแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี ตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายน  หลังเจ้าหน้าที่พยายามช่วยชีวิตอย่างสุดความสามารถอยู่ สองวันเต็มๆ พยายามป้อนยาและอาหารเหลว แต่สุดท้ายเต่าตัวนี้ก็เสียชีวิตลง เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ก่อนวันทะเลโลก ทีมสัตวแพทย์ของศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง อ่าวไทยฝั่งตะวันออก ได้ทำการชันสูตรผ่าซากเพื่อหาสาเหตุการเสียชีวิต ภายในกระเพาะอาหารพบขยะพลาสติกจำนวนมาก โดยเฉพาะพลาสติกขนาดเล็กเช่น หนังยาง เชือกฟาง เชือกไนลอน ถุงพลาสติก เศษพลาสติกและเศษเครื่องมือประมง สรุปสาเหตุเต่าตนุตัวนี้ตายก่อนวัยอันควร เพราะกินขยะพลาสติก > ทำให้ไม่อยากอาหาร > โปรตีนต่ำ > น้ำไหลออกช่องว่างลำตัวเพราะการดึงน้ำโดยโปรตีนในเลือดล้มเหลว > เกิดน้ำคั่งในช่องท้องและถุงหุ้มหัวใจ > หัวใจล้มเหลว นี้เป็นอีกหนึ่งตัวอย่าง เป็นสัตว์ทะเลอีกหนึ่งชีวิตที่ต้องจากไปอย่างทรมาน ทั้งๆที่อาศัยอยู่ในบ้านของตัวเอง เห็นภาพหนังยางจำนวนมาก แล้วก็สะท้อนใจ นี่เป็นขยะอีกแบบที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมากเช่...

ทำไมสหภาพยุโรปเลิกใช้ถุงพลาสติกแบบ Oxo-biodegradable

รูปภาพ
ถุงพลาสติกหูหิ้วหรือที่เรียกกันติดปากว่าถุงก๊อบแก๊บ             เป็นจำเลยอันดับหนึ่งของพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้งที่มีปริมาณมากมายมหาศาล ถุงหูหิ้วจึงเป็นเป้าหมายอันดับต้นๆของความพยายามลดการใช้พลาสติกแบบใช้แล้วทิ้ง ในช่วงสิบปีที่ผ่านมาเราจึงเห็นการปรากฎตัวขึ้นของถุงพลาสติกที่ระบุว่า Oxo-degradable หรือ Oxo-biodegradable และระบุว่าเป็นถุงพลาสติกที่ย่อยสลายได้ในธรรมชาติ ทำให้ผู้ใช้รู้สึกสบายใจขึ้นว่าได้ใช้ถุงพลาสติกแบบย่อยสลายได้และไม่เป็นภาร ะต่อสิ่งแวดล้อม ความจริงก็คือถุงประเภทนี้ย่อยได้เร็วกว่าถุงพลาสติกปกติเนื่องจากมีการใส่สารเติมแต่งทำให้ถุงพลาสติกแตกตัวได้เร็วขึ้นในสภาวะที่มีแสงและอ๊อกซิเจน ถุงประเภทนี้เมื่อใช้งานหรือเก็บไว้สักระยะจึงแตกตัวเป็นผง แต่ปัญหาก็คือพลาสติกดังกล่าวไม่ได้ย่อยสลายอย่างสมบูรณ์ เพียงแต่แตกตัวเป็นชิ้นเล็กๆ กลายเป็นไมโครพลาสติก ซึ่งยากต่อการกำจัดเข้าไปอีก          เมื่อต้นปีที่ผ่านมาคณะกรรมาธิการแห่งสหภาพยุโรปได้มีรายงานการศึกษา ผลดีผลเสีย ของถุง Oxo-biodegradable และมีข้อสรุปที่ชัดเจนว่า ถุงประเภทน...

ทำไมสัตว์จึงกินพลาสติก??

ทำไมสัตว์จึงกินพลาสติก?? วิดีโอ   กด ดูวิดิโอ https://www.facebook.com/Re4Reef/videos/1992652311046999/        การช่วยชีวิตเต่าทะเลจากการกลืนพลาสติกจากอเมริกาใต้ ที่โพสต์โดน Mauro Rigo เมื่อวันสิ่งแวดล้อมโลกที่ผ่านมา มีการแชร์ไปแล้วเกือบ 6 แสนครั้ง มีผู้ชมกว่า 20 ล้านวิว หลายคนอาจสงสัยว่าสัตว์พวกนี้ถึงหลงกินพลาสติกเข้าไปได้อย่างไร?? พวกมันโง่หรือเปล่า?? ความจริงก็คือ พ ลาสติกไม่ใช่แค่ดูเหมือนอาหารเท่านั้น แต่ยังมีกลิ่น สัมผัสและเสียงที่เหมือนอาหารอีกด้วย               มีการสำรวจพบว่ามีสิ่งมีชีวิตอย่างน้อย 180 ชนิดที่หลงกินพลาสติกเข้าไปเป็นอาหาร ตั้งแต่ แพลงตอนตัวน้อยไปจนถึงวาฬยักษ์ใหญ่              ปัญหาหนึ่งก็คือพลาสติกมีทุกขนาดทุกรูปแบบทุกสีสัน เมื่ออยู่ในน้ำ มันจึงดูคล้ายกับอาหารต่างๆนาๆ ที่สัตว์เหล่านี้กินเป็นอาหาร ตั้งแต่ไมโครพลาสติกที่ปนเปื้อนอยู่ก้นทะเล ทำเอาแพลงตอนสัตว์ หรือสัตว์ที่กินตะกอนแล้วกรองอาหารอย่างปลิงทะเลเข้าใจผิด ไปจนถึงชิ้นใหญ่ๆ ที่ล่องลอยอยู่ในมวลน้ำ...

เเนะนำตัวกันน

รูปภาพ
เเนะนำตัวกันนนน เราชื่อ เกรซ นะ  อายุก็..13 ปี ก็......ที่จริงคุณครูให้ทำbloggerเราก็เลยทำblogอะนี้ขึ้นมาเกี่ยวกับพวกขยะพลาสติกในทะเล คือเราสนใจเรื่องนี้มากกกก เราอยากให้ทุกบอกคนขายน้ำหรือพนักงานเซเว่นว่า "ไม่เอาถุงพลาสติกค่ะ/ครับ" เเละอยากให้ทุกคนรู้ว่ากับ "เเค่" หลอดพลาสติกหรือถุงพลาสติกของใครหลายๆคนมันทำให้สัตว์ในทะเลจากสัตว์ตัวเล็กๆอย่างลูกนก นก เต่าไปถึงสัตว์ขนาดใหญ่อย่างวาฬตายได้เลยนะ  นั้นเเหละะ 555+ ส่วนสิ่งที่เราชอบก็....ฟังเพลง ลองฟังกันดูน้าาาาาา 555+

ไม่มีวาฬตัวไหนอยากกินพลาสติก

รูปภาพ
ไม่มีวาฬตัวไหนอยากกินพลาสติก             ผลการผ่าพิสูจน์ซากวาฬหัวทุย หรือ Sperm whale 13 ตัวที่เกยตื้นบริเวณชายฝั่งของ Wadden Sea National Park ในรัฐ Schleswig-Holstein ประเทศเยอรมันนี  เมื่อปลายเดือนมกราคม 2016   พบว่าหลายตัวมีขยะพลาสติกอยู่ในท้องเป็นจำนวนมากตั้งแต่ถุงพลาสติกชิ้นเล็กๆ ถุงดำ ไปจนถึงอวนกุ้งขนาด13เมตร เศษถังน้ำ หรือแม้แต่ชิ้นส่วนรถยนต์ ตั้งแต่ช่วงต้นปีมีการพบวาฬหัวทุยเกยตื้นแล้วกว่า 30ตัวตามแนวชายฝั่งของอังกฤษ เนเธอร์แลนด์ ฝั่งเศส เดนมาร์ก และเยอรมันนี           บ่อยครั้งที่วาฬอาจเข้าใจผิดว่า พลาสติกเหล่านี้เป็นเหยื่อเช่นปลาหมึกซึ่งเป็นอาหารโปรด แต่บางทีก็เป็นการหลุดเข้าไปโดยไม่ตั้งใจหากว่ายผ่านในบริเวณที่มีขยะมากๆ แม้การกินพลาสติกอาจจะไม่ใช่สาเหตุหลักที่ทำให้วาฬเกยตื้น แต่ย่อมมีผลต่อระบบการย่อยอาหารและสุขภาพโดยรวมของวาฬเหล่านี้อย่างแน่นอน   เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมาก็มีการพบวาฬหัวทุยเข้ามาเกยตื้นตายทางตอนใต้ของสเปนซึ่งพบว่ามีถุงพลาสติกมากถึง 29 กิโลกรัมในท้อง  ปัญหาขยะพล...

ก็เเค่ขยะข้างทาง...ทำไมจะเก็บไม่ได้

รูปภาพ
ภาพทั้งสองนี้ ถ่ายจากที่เดียวกัน ในเวลาห่างกันไม่กี่เดือน   ชายหาดเขาปิหลาย จังหวัดพังงา   คือชายหาดขาว สวยบริสุทธิ์ แต่เมื่อเข้าฤดูมรสุม ขยะจำนวนมากถูกพัดพามาจากที่อื่น เข้าท่วมทับหาดทรายจนแทบมองไม่เห็นชายหาด ปัญหาขยะทะเลสร้างผลกระทบกว้างไกล ทั้งในเชิงสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ ในภาพคือแหล่งท่องเที่ยวสำคัญที่กลายสภาพเป็นแหล่งรองรับขยะ ซึ่งจำนวนมากคือขยะพลาสติกที่ไม่ย่อยสลาย บ่อยครั้งผู้ได้รับผลกระทบไม่ใช่เป็นผู้ก่อมลภาวะโดยตรง บ่อยครั้งที่ผู้ก่อมลภาวะไม่รู้ตัวว่ามีส่วนร่วมในการทำร้ายทะเลที่อยู่ห่างไกลไปนับพันๆหมื่นๆกิโลเมตร เราทุกคนล้วนมีส่วนร่วมกับปัญหานี้ และเราทุกคนก็มีส่วนช่วยแก้ปัญหานี้ได้เช่นกัน ด้วยการลดการสร้างขยะที่ไม่จำเป็นตั้งแต่ต้นทาง        

มนุษย์จะกินทุกอย่างไม่ได้นะ!!!!!!!!!

รูปภาพ
รู้จักปลานกแก้ว...นักปลูกปะการังที่แท้ทรู   ปลากินพืชโดยเฉพาะปลานกแก้วที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในระบบนิเวศแนวปะการัง  เพราะพื้นที่ที่เหมาะสมในการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลมีจำกัด การแก่งแย่งแข่งขันระหว่างปะการังและสาหร่ายจึงเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา  ฝ่ายใดพลาดพลั้งก็ต้องสูญหายไปจากระบบ ระยะหลังปะการังเป็นฝ่ายเพลี่ยงพล้ำอยู่ตลอด เพราะถูกซ้ำเติมจาก กิจกรรมมนุษย์ นานัปการ ไม่ว่าจะการท่องเที่ยว การปล่อยน้ำเสีย ตะกอนจากชายฝั่ง ที่สำคัญคือภาวะโลกร้อนที่ทำให้ปะการังฟอกขาวจนตายไปนักต่อนัก งานวิจัยใหม่สองชิ้นจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานตาบาร์บาร่า พบว่า พฤติกรรมการหากินของ ปลานกแก้ว ไม่ได้เป็นแบบมั่วซั่ว หรือเจออะไรก็กินไปเรื่อยอย่างที่หลายคนคิด แต่กลับมีแบบแผนที่ค่อนข้างแน่นอนราวกับคนสวนที่จดจำสภาพแนวปะการังได้อย่างแม่นยำ บริเวณไหนที่ยังมีปะการังเป็นขึ้นหนาแน่น ปลานกแก้วจะครูดกินแบบห่างๆ  ใ นขณะที่บริเวณไหนปะการังตาย สาหร่ายขึ้นตรึม เจ้าปลานกแก้วก็จะกลับมากินซ้ำๆ ครูดกินแบบต่อเนื่อง กินแล้วกินอีก จนแน่ใจว่ามีปะการังตัวอ่อน กลับเข้ามาขึ้นได้ ซึ่งรอยครูดกิน...

ความจริงที่ว่าโลกไม่ได้ต้องการมนุษย์แต่มนุษย์ต้องการโลก

รูปภาพ
      ความจริงที่ว่าโลกไม่ได้ต้องการมนุษย์แต่มนุษย์ต้องการโลก ผมคือปะการัง บางคนคิดว่าผมเป็นแค่ก้อนหิน ความจริงผมคือสิ่งมีชีวิตที่ใหญ่ที่สุดที่ยังมีชีวิตอยู่บนโลกใบนี้ ผมใหญ่ขนาดที่มองเห็นผมได้จากอวกาศ แต่จะอีกนานแค่ไหนก็ไม่รู้ ผมเกิดมาตั้งแต่เกือบ 250 ล้านปีที่แล้ว แต่จู่ๆมนุษย์ก็เกิดขึ้นมา แล้วประชากรหนึ่งในห้าของพวกผมก็จากไป แน่นอนว่าผมน่ะอยู่ที่ก้นทะเล และคุณคงไม่ได้มีโอกาสเจอผมบ่อยนักหรอก แต่คุณจำเป็นต้องมีผม คุณรู้ไหมว่าหนึ่งในสี่ของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดในทะเลต้องการผม ผมคือแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำแห่งมหาสมุทร ปลาเล็กๆ อาศัยผมเป็นอาหารและที่หลบซ่อนจากปลาใหญ่ แล้วใครล่ะกินปลาใหญ่ ก็คุณไง ผมน่ะคือโรงงานผลิตโปรตีนสำหรับโลกเลยนะ พอคุณทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น ผมก็คงจะอยู่ในโลกนี้ต่อไปไม่ได้แล้ว เวลาพายุลูกใหญ่ๆ หรือสึนามิพัดถล่มเข้าฝั่ง ผมนี่แหล่ะเป็นปราการให้คุณ แต่คุณก็ระเบิดผมเป็นเสี่ยงๆด้วยไดนาไมต์ วางยาพิษผมด้วยไซยาไนด์​ เอางี้ ลองทำแบบนี้ดูไหม... หยุด..ฆ่า...ผม ก่อนที่มนุษย์จะเกิดมาบนโลกหลังจากที่ไดโนเสาร์สูญพันธ์ สัตว์ที่เหลืออยู...

ก็เเค่หลอดอันเดียว..จะอะไรมากมาย

รูปภาพ
   “ก็แค่หลอดอันเดียว จะอะไรกันนักหนา” - มนุษย์กว่าพันล้านคนกล่าวไว้ นี่คือบทสรุปปัญหาขยะพลาสติกที่กำลังเป็นวิกฤติไปทั่วโลก เพราะทุกคนคิดว่ามันเป็นเรื่องเล็กๆ จะอะไรกันนักหนา ก็แค่หลอดอันเดียว ก็แค่ถุงพลาสติกใบเดียว แก้วพลาสติกใบเดียว ช้อนส้อมพลาสติก ขวดพลาสติก กล่องพลาสติก ซองพลาสติก ไม่ได้มากมายอะไร ก็ แค่เราคนเดียวที่ใช้ แต่เมื่อทุกคนใช้พลาสติกที่ใช้แล้วทิ้งเหล่านี้ทุกๆวัน ลองคิดดูว่าปริมาณขยะชิ้นเล็กชิ้นน้อยเหล่านี้มากมายขนาดไหน จากคนกว่าพันล้านคน หลอดพลาสติกวันละหลายพันล้านหลอด ขวดพลาสติกวันละหลายพันล้านใบ ถุงพลาสติกวันละหลายหมื่นล้านถุง ขยะเหล่านี้ไม่ได้ไปไหน เมื่อหลุดรอดไปในสภาพแวดล้อม ก็ทำให้ท่อระบายน้ำอุดตัน ทำอันตรายสัตว์ทะเล หลายชีวิตต้องตายอย่างทรมานเพราะหลงคิดว่าเป็นอาหาร ที่สำคัญพลาสติกไม่ย่อยสลาย แต่จะแตกตัวเป็นชิ้นเล็กๆ กลายเป็นไมโครพลาสติก นาโนพลาสติก ตกค้างในสิ่งแวดล้อม ปนเปื้อนในน้ำทะเล อาหารทะเล น้ำดื่ม เกลือปรุงอาหาร แล้วส่งทอดกลับมาสู่มนุษย์ผ่านห่วงโซ่อาหาร “ก็แค่หลอดอันเดียว” ทำไมเราทุกคนจะเลิกใช้ไม่ได้. . . . ...