ทำไมสัตว์จึงกินพลาสติก??
ทำไมสัตว์จึงกินพลาสติก??
วิดีโอ
การช่วยชีวิตเต่าทะเลจากการกลืนพลาสติกจากอเมริกาใต้ ที่โพสต์โดน Mauro Rigo เมื่อวันสิ่งแวดล้อมโลกที่ผ่านมา มีการแชร์ไปแล้วเกือบ 6 แสนครั้ง มีผู้ชมกว่า 20 ล้านวิว
หลายคนอาจสงสัยว่าสัตว์พวกนี้ถึงหลงกินพลาสติกเข้าไปได้อย่างไร?? พวกมันโง่หรือเปล่า?? ความจริงก็คือ พลาสติกไม่ใช่แค่ดูเหมือนอาหารเท่านั้น แต่ยังมีกลิ่น สัมผัสและเสียงที่เหมือนอาหารอีกด้วย
มีการสำรวจพบว่ามีสิ่งมีชีวิตอย่างน้อย 180 ชนิดที่หลงกินพลาสติกเข้าไปเป็นอาหาร ตั้งแต่แพลงตอนตัวน้อยไปจนถึงวาฬยักษ์ใหญ่
ปัญหาหนึ่งก็คือพลาสติกมีทุกขนาดทุกรูปแบบทุกสีสัน เมื่ออยู่ในน้ำ มันจึงดูคล้ายกับอาหารต่างๆนาๆ ที่สัตว์เหล่านี้กินเป็นอาหาร ตั้งแต่ไมโครพลาสติกที่ปนเปื้อนอยู่ก้นทะเล ทำเอาแพลงตอนสัตว์ หรือสัตว์ที่กินตะกอนแล้วกรองอาหารอย่างปลิงทะเลเข้าใจผิด ไปจนถึงชิ้นใหญ่ๆ ที่ล่องลอยอยู่ในมวลน้ำ
พลาสติกที่ล่องลอยในน้ำยังมีสาหร่ายมาเกาะเจริญเติบโต ทำให้มันมีหน้าตาและกลิ่นที่เหมือนอาหารมากขึ้น เร็วๆ นี้นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่าเมื่อสาหร่ายถูกกินโดยสัตว์อื่นโดยเฉพาะแพลงตอนสัตว์ สาหร่ายจะปล่อยสารที่ Dimethyl sulphide ซึ่งเป็นกลิ่นซัลไฟด์เฉพาะที่เหมือนอาหาร
สำหรับนกทะเลหลายชนิด นั่นคือสัญญานว่า สิ่งนั้นคืออาหาร กินได้เลย นกทะเลจำนวนมากจึงไม่เพียงหลงกินเศษพลาสติก แต่ยังเอาเศษพลาสติกเหล่านั้นมาป้อนลูกน้อยอีกด้วย
เต่าทะเลวัยรุ่นมักกินพลาสติกอย่างไม่เลือกโดยเฉพาะถุงสีขาว แต่เต่าตัวเต็มวัยมักจะชอบถุงใสมากกว่า ซึ่งยืนยันความเชื่อที่ว่า พวกมันกินถุงพลาสติกเพราะเข้าใจว่าเป็นแมงกระพรุน
พลาสติกที่หลุดรอดไปในทะเล จึงกลายเป็นปัญหาใหญ่ เพราะพฤติกรรมการหากินของสัตว์นั้นผ่านวิวัฒนาการมาเป็นเวลาล้านๆ ปี พวกมันจึงไม่อาจแยกแยะพลาสติกที่มีสารพัดรูปแบบและขนาดจากอาหารในธรรมชาติได้
.
.
.
มาช่วยกันลดการสร้างขยะที่ไม่จำเป็นตั้งแต่วันนี้ เพราะเราไม่รู้ว่าพลาสติกที่เราโยนทิ้งไปวันนี้ จะกลายเป็นอาหารของสัตว์ทะเลตัวไหนอีกบ้าง
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น