บทความ

สิ่งที่เรียกว่าหลอดพลาสติก!!!!!!!

รูปภาพ
                                                  หลอดพลาสติก >> หลอดพลาสติกมีส่วนประกอบของสารเคมีมากมายหลายชนิด มีการเติมสี และมี BPA ซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพ >> หลอดพลาสติกเป็นหนึ่งในขยะที่พบบ่อยที่สุดตามชายหาดและในทะเล เพราะมีขนาดเล็ก ทนทาน ยากต่อการจัดเก็บ และไม่เคยถูกนำมารีไซเคิล >> มีการประเมินว่าโดยเฉลี่ยคนเราใช้หลอดพลาสติกวันละ 1.5 หลอด เท่ากับว่าในประเทศไทยอาจมีการสร้างขยะที่เป็นหลอดมากถึง 100 ล้านชิ้นต่อวัน หรือปีละกว่า 35,000 ล้านชิ้น!! >> ทุกปีมีสัตว์ทะเลต้องตายเพราะขยะพลาสติกทั่วโลกมากถึงปีละกว่า 1 แสนตัว ซึ่งหลอดพลาสติกเป็นหนึ่งในตัวการสำคัญ ที่ทำให้สัตว์ทะเลหายากหลาชนิดบาดเจ็บและอาจเสียชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเต่าทะเล ฉลามวาฬ​ กระเบนราหู และวาฬหลายชนิด >> เมื่อหลอดพลาสติกหลุดรอดไปในทะเลเป็นเวลานานๆ จะเกิดการแตกตัวกลายเป็นไมโครพลาสติก เกิดาการสะสมได้ในสัตว์ทะเลขนาดเล็ก และส่งผ่านกลับมาสู่...

ปลาวัว การ์ดผู้อารักขาแนวปะการัง

รูปภาพ
                                ปลาวัว การ์ดผู้อารักขาแนวปะการัง           งานวิจัยระยะยาวจากมหาสมุทรอินเดียเปิดเผยว่าปลาวัวโดยเฉพาะปลาวัวลายส้ม Orange-lined Triggerfish (Balistapus undulatus) มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยควบคุมประชากรหอยเม่น และเปิดโอกาสให้ปะการังเติบโตอย่างสมดุล งานวิจัยที่นำโดย Tim McClanahan นักวิจัยอาวุโสแห่งสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (WCS) ตีพิมพ์ใน วารสาร Marine Ecology Progress Series เก็บข้อมูลระยะยาวของสาหร่าย ปะการัง ปลา และหอยเม่น ในแนวปะการังกว่า 200 แห่งทางตะวันตกของมหาสมุทรอินเดีย และวิเค ราะห์ตัวแปรต่างๆ จนสรุปได้ว่าประชากรปลาวัวลายส้ม มีความสัมพันธ์โดยตรงต่อสุขภาพของแนวปะการัง “ปะการังกำลังอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ทั่วโลก การปกป้องชนิดพันธุ์ที่มีบทบาทสำคัญในการรักษาสมดุลชองระบบนิเวศเป็นการเพิ่มโอกาสให้แนวปะการังอยู่รอดต่อไปได้" ทิมกล่าว “ข้อมูลของเราบ่งชี้ว่าการมีปลาวัวลายส้มอยู่เพียงไม่กี่ตัวช่วยเพิ่มโอกาสให้ปะการังเติบโตขึ้น...

ไม่ใช่แค่วาฬที่ตายเพราะขยะทะเล

รูปภาพ
ไม่ใช่แค่วาฬที่ตายเพราะขยะทะเล เต่าตนุตัวน้อยตัวนี้เข้ามาเกยตื้นบริเวณท่าเรือแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี ตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายน  หลังเจ้าหน้าที่พยายามช่วยชีวิตอย่างสุดความสามารถอยู่ สองวันเต็มๆ พยายามป้อนยาและอาหารเหลว แต่สุดท้ายเต่าตัวนี้ก็เสียชีวิตลง เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ก่อนวันทะเลโลก ทีมสัตวแพทย์ของศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง อ่าวไทยฝั่งตะวันออก ได้ทำการชันสูตรผ่าซากเพื่อหาสาเหตุการเสียชีวิต ภายในกระเพาะอาหารพบขยะพลาสติกจำนวนมาก โดยเฉพาะพลาสติกขนาดเล็กเช่น หนังยาง เชือกฟาง เชือกไนลอน ถุงพลาสติก เศษพลาสติกและเศษเครื่องมือประมง สรุปสาเหตุเต่าตนุตัวนี้ตายก่อนวัยอันควร เพราะกินขยะพลาสติก > ทำให้ไม่อยากอาหาร > โปรตีนต่ำ > น้ำไหลออกช่องว่างลำตัวเพราะการดึงน้ำโดยโปรตีนในเลือดล้มเหลว > เกิดน้ำคั่งในช่องท้องและถุงหุ้มหัวใจ > หัวใจล้มเหลว นี้เป็นอีกหนึ่งตัวอย่าง เป็นสัตว์ทะเลอีกหนึ่งชีวิตที่ต้องจากไปอย่างทรมาน ทั้งๆที่อาศัยอยู่ในบ้านของตัวเอง เห็นภาพหนังยางจำนวนมาก แล้วก็สะท้อนใจ นี่เป็นขยะอีกแบบที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมากเช่...

ทำไมสหภาพยุโรปเลิกใช้ถุงพลาสติกแบบ Oxo-biodegradable

รูปภาพ
ถุงพลาสติกหูหิ้วหรือที่เรียกกันติดปากว่าถุงก๊อบแก๊บ             เป็นจำเลยอันดับหนึ่งของพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้งที่มีปริมาณมากมายมหาศาล ถุงหูหิ้วจึงเป็นเป้าหมายอันดับต้นๆของความพยายามลดการใช้พลาสติกแบบใช้แล้วทิ้ง ในช่วงสิบปีที่ผ่านมาเราจึงเห็นการปรากฎตัวขึ้นของถุงพลาสติกที่ระบุว่า Oxo-degradable หรือ Oxo-biodegradable และระบุว่าเป็นถุงพลาสติกที่ย่อยสลายได้ในธรรมชาติ ทำให้ผู้ใช้รู้สึกสบายใจขึ้นว่าได้ใช้ถุงพลาสติกแบบย่อยสลายได้และไม่เป็นภาร ะต่อสิ่งแวดล้อม ความจริงก็คือถุงประเภทนี้ย่อยได้เร็วกว่าถุงพลาสติกปกติเนื่องจากมีการใส่สารเติมแต่งทำให้ถุงพลาสติกแตกตัวได้เร็วขึ้นในสภาวะที่มีแสงและอ๊อกซิเจน ถุงประเภทนี้เมื่อใช้งานหรือเก็บไว้สักระยะจึงแตกตัวเป็นผง แต่ปัญหาก็คือพลาสติกดังกล่าวไม่ได้ย่อยสลายอย่างสมบูรณ์ เพียงแต่แตกตัวเป็นชิ้นเล็กๆ กลายเป็นไมโครพลาสติก ซึ่งยากต่อการกำจัดเข้าไปอีก          เมื่อต้นปีที่ผ่านมาคณะกรรมาธิการแห่งสหภาพยุโรปได้มีรายงานการศึกษา ผลดีผลเสีย ของถุง Oxo-biodegradable และมีข้อสรุปที่ชัดเจนว่า ถุงประเภทน...

ทำไมสัตว์จึงกินพลาสติก??

ทำไมสัตว์จึงกินพลาสติก?? วิดีโอ   กด ดูวิดิโอ https://www.facebook.com/Re4Reef/videos/1992652311046999/        การช่วยชีวิตเต่าทะเลจากการกลืนพลาสติกจากอเมริกาใต้ ที่โพสต์โดน Mauro Rigo เมื่อวันสิ่งแวดล้อมโลกที่ผ่านมา มีการแชร์ไปแล้วเกือบ 6 แสนครั้ง มีผู้ชมกว่า 20 ล้านวิว หลายคนอาจสงสัยว่าสัตว์พวกนี้ถึงหลงกินพลาสติกเข้าไปได้อย่างไร?? พวกมันโง่หรือเปล่า?? ความจริงก็คือ พ ลาสติกไม่ใช่แค่ดูเหมือนอาหารเท่านั้น แต่ยังมีกลิ่น สัมผัสและเสียงที่เหมือนอาหารอีกด้วย               มีการสำรวจพบว่ามีสิ่งมีชีวิตอย่างน้อย 180 ชนิดที่หลงกินพลาสติกเข้าไปเป็นอาหาร ตั้งแต่ แพลงตอนตัวน้อยไปจนถึงวาฬยักษ์ใหญ่              ปัญหาหนึ่งก็คือพลาสติกมีทุกขนาดทุกรูปแบบทุกสีสัน เมื่ออยู่ในน้ำ มันจึงดูคล้ายกับอาหารต่างๆนาๆ ที่สัตว์เหล่านี้กินเป็นอาหาร ตั้งแต่ไมโครพลาสติกที่ปนเปื้อนอยู่ก้นทะเล ทำเอาแพลงตอนสัตว์ หรือสัตว์ที่กินตะกอนแล้วกรองอาหารอย่างปลิงทะเลเข้าใจผิด ไปจนถึงชิ้นใหญ่ๆ ที่ล่องลอยอยู่ในมวลน้ำ...

เเนะนำตัวกันน

รูปภาพ
เเนะนำตัวกันนนน เราชื่อ เกรซ นะ  อายุก็..13 ปี ก็......ที่จริงคุณครูให้ทำbloggerเราก็เลยทำblogอะนี้ขึ้นมาเกี่ยวกับพวกขยะพลาสติกในทะเล คือเราสนใจเรื่องนี้มากกกก เราอยากให้ทุกบอกคนขายน้ำหรือพนักงานเซเว่นว่า "ไม่เอาถุงพลาสติกค่ะ/ครับ" เเละอยากให้ทุกคนรู้ว่ากับ "เเค่" หลอดพลาสติกหรือถุงพลาสติกของใครหลายๆคนมันทำให้สัตว์ในทะเลจากสัตว์ตัวเล็กๆอย่างลูกนก นก เต่าไปถึงสัตว์ขนาดใหญ่อย่างวาฬตายได้เลยนะ  นั้นเเหละะ 555+ ส่วนสิ่งที่เราชอบก็....ฟังเพลง ลองฟังกันดูน้าาาาาา 555+

ไม่มีวาฬตัวไหนอยากกินพลาสติก

รูปภาพ
ไม่มีวาฬตัวไหนอยากกินพลาสติก             ผลการผ่าพิสูจน์ซากวาฬหัวทุย หรือ Sperm whale 13 ตัวที่เกยตื้นบริเวณชายฝั่งของ Wadden Sea National Park ในรัฐ Schleswig-Holstein ประเทศเยอรมันนี  เมื่อปลายเดือนมกราคม 2016   พบว่าหลายตัวมีขยะพลาสติกอยู่ในท้องเป็นจำนวนมากตั้งแต่ถุงพลาสติกชิ้นเล็กๆ ถุงดำ ไปจนถึงอวนกุ้งขนาด13เมตร เศษถังน้ำ หรือแม้แต่ชิ้นส่วนรถยนต์ ตั้งแต่ช่วงต้นปีมีการพบวาฬหัวทุยเกยตื้นแล้วกว่า 30ตัวตามแนวชายฝั่งของอังกฤษ เนเธอร์แลนด์ ฝั่งเศส เดนมาร์ก และเยอรมันนี           บ่อยครั้งที่วาฬอาจเข้าใจผิดว่า พลาสติกเหล่านี้เป็นเหยื่อเช่นปลาหมึกซึ่งเป็นอาหารโปรด แต่บางทีก็เป็นการหลุดเข้าไปโดยไม่ตั้งใจหากว่ายผ่านในบริเวณที่มีขยะมากๆ แม้การกินพลาสติกอาจจะไม่ใช่สาเหตุหลักที่ทำให้วาฬเกยตื้น แต่ย่อมมีผลต่อระบบการย่อยอาหารและสุขภาพโดยรวมของวาฬเหล่านี้อย่างแน่นอน   เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมาก็มีการพบวาฬหัวทุยเข้ามาเกยตื้นตายทางตอนใต้ของสเปนซึ่งพบว่ามีถุงพลาสติกมากถึง 29 กิโลกรัมในท้อง  ปัญหาขยะพล...